วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สิ่งมีชีวิต
ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ทุกคนคงสามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิต ซากของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตจะต้องมีลักษณะและกระบวนการของชีวิตดังนี้
1. การกินอาหาร สิ่งมีชีวิตต้องการอาหารเพื่อสร้างพลังงานและการเจริญเติบโต โดยพืชสามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นเองได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เปลี่ยนน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นน้ำตาล ส่วนสัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องกินพืชหรือสัตว์อื่นเป็นอาหาร
2. การหายใจ กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตเป็นวิธีการเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไปเป็นพลังงาน สำหรับใช้ในการเคลื่อนไหว การเจริญเติบโต และการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สิ่งมีชีวิตทั่วไปใช้แก๊สออกซิเจนในกระบวนการหายใจ
3. การเคลื่อนไหว ขณะที่พืชเจริญเติบโต พืชจะมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เช่น รากเคลื่อนลงสู่พื้นดินด้านล่าง หรือส่วนยอดของต้นที่จะเคลื่อนขึ้นหาแสงด้านบน สัตว์จะสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งตัวไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สัตว์จึงเคลื่อนที่ไปหาอาหารหรือหลบหนีจากการถูกล่าได้
4. การเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเติบโตได้ พืชเติบโตได้ตลอดชีวิต ส่วนสัตว์หยุดการเจริญเติบโตเมื่อเจริญเติบโตจนมีขนาดถึงระดับหนึ่ง สิ่งมีชีวิตบางชนิดขณะเจริญเติบโตไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่บางชนิดขณะเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
5. การขับถ่าย เป็นการกำจัดของเสียที่สิ่งมีชีวิตนั้นไม่ต้องการออกจากร่างกาย พืชจะขับของเสียออกมาทางปากใบ สัตว์จะขับของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และปะปนออกมากับลมหายใจ
6. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด เช่น พืชจะหันใบเข้าหาแสง สัตว์มีอวัยวะรับความรู้สึกที่แตกต่างกันหลายชนิด
7. การสืบพันธุ์ เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ไว้ ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่สืบพันธุ์ก็จะสูญพันธุ์
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานร่วมกันของระบบอวัยวะต่างๆ หลายระบบ อวัยวะต่างๆ ล้วนประกอบจากกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำงานร่วมกัน เนื้อเยื่อแต่ละชนิดประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันที่ทำงานอย่างเดียวกัน
สิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป ทุกคนคงสามารถแยกได้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมีชีวิต ซากของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตจะต้องมีลักษณะและกระบวนการของชีวิตดังนี้
สัตว์ต้องกินอาหารเพื่อสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย
พืชสังเคราะห์อาหารได้โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
2. การหายใจ กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตเป็นวิธีการเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไปเป็นพลังงาน สำหรับใช้ในการเคลื่อนไหว การเจริญเติบโต และการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สิ่งมีชีวิตทั่วไปใช้แก๊สออกซิเจนในกระบวนการหายใจ
แผนภาพแสดงสมการการหายใจของสิ่งมีชีวิต
3. การเคลื่อนไหว ขณะที่พืชเจริญเติบโต พืชจะมีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ เช่น รากเคลื่อนลงสู่พื้นดินด้านล่าง หรือส่วนยอดของต้นที่จะเคลื่อนขึ้นหาแสงด้านบน สัตว์จะสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งตัวไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สัตว์จึงเคลื่อนที่ไปหาอาหารหรือหลบหนีจากการถูกล่าได้
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีการเคลื่อนไหว
4. การเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเติบโตได้ พืชเติบโตได้ตลอดชีวิต ส่วนสัตว์หยุดการเจริญเติบโตเมื่อเจริญเติบโตจนมีขนาดถึงระดับหนึ่ง สิ่งมีชีวิตบางชนิดขณะเจริญเติบโตไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่บางชนิดขณะเจริญเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
การเจริญเติบโตของไหมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเป็น 4 ชั้น คือ ระยะวางไข่ ระยะตัวหนอนไหม ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย
5. การขับถ่าย เป็นการกำจัดของเสียที่สิ่งมีชีวิตนั้นไม่ต้องการออกจากร่างกาย พืชจะขับของเสียออกมาทางปากใบ สัตว์จะขับของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และปะปนออกมากับลมหายใจ
สุนัขขับเหงื่อออกมาทางจมูกและลิ้น
6. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด เช่น พืชจะหันใบเข้าหาแสง สัตว์มีอวัยวะรับความรู้สึกที่แตกต่างกันหลายชนิด
ใบไมยราบจะหุบเมื่อถูกสัมผัส
7. การสืบพันธุ์ เป็นกระบวนการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเพื่อดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ไว้ ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่สืบพันธุ์ก็จะสูญพันธุ์
สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานร่วมกันของระบบอวัยวะต่างๆ หลายระบบ อวัยวะต่างๆ ล้วนประกอบจากกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำงานร่วมกัน เนื้อเยื่อแต่ละชนิดประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันที่ทำงานอย่างเดียวกัน
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบ
ดังนั้น การศึกษากระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตให้เข้าใจ จึงต้องอาศัยความรู้จากการศึกษาลักษณะรูปร่าง โครงสร้าง ส่วนประกอบ และหน้าที่ของเซลล์สิ่งมีชีวิตให้เข้าใจเป็นพื้นฐาน
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/01.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)